ประวัติความเป็นมาของชาวกูย

                                                        ประวัติชนชาติกูย

ความเบื้องต้น

ภาคอีสานมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  ๑๗๗,๘๑๘ ตารางกิโลเมตร  มีประชากรประมาณ ๑๘ ล้านคน ( อภิศักดิ์ โสมอินทร์  ๒๕๒๖  : บทนำ ) หรือหนึ่งในสามของประชากรทั้งประเทศ  ประกอบด้วยกลุ่มชนที่พูดภาษาไทย-ลาว ( ลาว ) เป็นส่วนมาก ( ไทย – โส้  ไทย –แสก  ไทย – ย้อ ( ย้อ )  ภูไทย  หรือผู้ใหญ่( ไทย – เขมร ) ( เขมร )  และไทย – กูย ( ส่วย )  แบ่งการปกครองออกเป็น  ๑๙  จังหวัด  ได้แก่  จังหวัดสุรินทร์   บุรีรัมย์  ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี  อำนาจเจริญ  มุกดาหาร  นครพนม  ยโสธร  สกลนคร  กาฬสินธุ์  ร้อยเอ็ด  มหาสารคาม  นครราชสีมา  ชัยภูมิ  ข่อนแก่น  หนองบัวลำภู  อุดรธานี  หนองคาย  และเลย  ในกลุ่มชนเหล่านี้  กลุ่มชนที่เรียกตัวเองว่า  “กูย”  เป็นชนดั้งเดิมที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของภาคอีสานใต้เป็นกลุ่มแรก

ประวัติการตั้งถิ่นฐาน

กลุ่มชนที่พูดภาษาไทย – กูย  เป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างมั่นคงทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา  เมื่อประมาณ  ๓,๐๐๐  ปี หรือ  ๑,๒๐๐  ปี  ก่อนคริสตกาล  ครั้งต่อมาเมื่อเกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการสงครามในภูมิภาคนี้หลายครั้งหงายหนจนเป็นผลให้ชาวไทย – กูย  อพยพจากถิ่นฐานเดิมเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในดินแดนอันเป็นอีสานใต้ของประเทศไทย  ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( ประมาณ  พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ )  ได้ขยายอิทธิพลทางการเมืองเข้ามายังดินแดนส่วนนี้  จึงเป็นผลให้ดินแดนส่วนนี้ตกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามในเวลาต่อมา ( ชื่น  ศรีสวัสดิ์  : ช้างกับส่วย )

 ความหมายของคำว่า  “กูย”

กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้มักเรียกตนเองว่า  กูย  กุย  โกย  หรือกวย  แตกต่างกันไปตามลักษณะการเรียกออกเสียงของแต่ละถิ่น  ( สมทรง  บุรุษพัฒน์ : ๒๕๓๘ )  แม้ว่าชนพื้นเมืองออกเสียงสระแตกต่างกัน  ตามแต่ละท้องถิ่นแต่ความหมายของคำว่า  กูย  กุย  โกย  หรือ  กวย  หมายถึง  “คน ทั้งสิ้น  การให้ความหมายไว้ในลักษณะดังกล่าวนี้  ย่อมสะท้อนให้เห็นความเป็นสากล  หรือฐานคติการมองโลกของมนุษย์ในปริบทของวัฒนธรรมต่างๆว่ากลุ่มของตนเองนั้น  มีสถานภาพที่แตกต่างจากสัตว์  และมีความเท่าเทียมกันกับมนุษย์ในปริบทของวัฒนธรรมอื่นๆ  นักภาษาศาสตร์และนักชาติพันธุ์วิทยา  ในประเทศไทยเสนอให้ใช้คำว่า “กูย”  เพียงคำเดียวในการเรียกชนกลุ่มนี้ส่วนคำว่า  “ส่วย”  นับตั้งแต่เกิดมาไม่เคยได้ยินชาวกูยเรียกตัวเองว่า  “ส่วย”  จะมีก็แต่ชาวไทยเท่านั้น  ที่เรียกกลุ่มชนชาวกูยว่า  “ส่วย”  นั้น  เป็นคำที่มีบัญญัติขึ้นมานอกเหนือปริบทของวัฒนธรรมกูย  ซึ่งชาวกูยเองไม่ค่อยจะยอมรับชื่อนี้เท่าใดนัก  เพราะฉะนั้น  ในการรวบรวมประวัติศาสตร์ชนชาติกูยในครั้งนี้จึงสนับสนุนคำว่า  “กูย”เป็นสรรพนามแทนชนกลุ่มนี้  เป็นมนสิการต่อเกียรติภูมิของกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีประวัติศาสตร์เป็นของตนเอง ( สมทรง  บุรุษพัฒน์  ๒๕๓๘ : สารานุกรมชนชาติกูย

ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์

ภูมิลำเนาเดิม

มีหลักฐานหลายแห่งรบวรวมเอาไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับภูมิลำเนาของชาวกูย  (ไพบูลย์  สุนทรารักษ์  ๒๕๑๕ : ๔๘ )  ได้ให้ความเห็นว่า  กูยเป็นเผ่าเขมรเดิมพวกหนึ่ง  เรียกชาติกุณฑ์   ซึ่งอพยพมาจากอินเดียครั้งถูกอารยันรุกรานโดยอพยพมาทางทิศตะวันออกจนถึงลุ่มแม่น้ำดง( สาละวิน )  และ แม่น้ำของ (โขง ) ตอนบน  พวกที่อพยพไปทางแม่น้ำดงกลายเป็นบรรพบุรุษของพวกมอญหรือรามัญ  พวกที่อพยพไปอาศัยอยู่แถบเทือกเขาด็องแร็ก (ดงรัก)  บางพวกไปถึงทะเลสาบใหญ่และชายทะเล  ต่อมาได้กลายเป็นบรรพบุรุษของพวกเขมร  และพวกที่อยู่ตามป่าขาต่างๆเรียกว่า  ลั้ว  ข่า  ขมุ  กวยหรือกูย  แตกต่างกันไปนอกจากนี้ยังมีหลักฐานระบุเอาไว้ว่า  ชนเหล่านี้ได้มีถิ่นฐานกระจายอยู่ทั่วไปในเขตพื้นที่ภาคเหนือลาวและตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา     จากหลักฐานกฎหมายอยุธยาฉบับ  พ.ศ. 1974  ( ไพฑูรย์  มีกุศล , 2500 , หน้า 17  )  ได้กล่าวถึงกษัตริย์ของเขมรที่นครธม  ได้ทรงขอให้เจ้ากูยแห่งตะบองขะมุย  ที่มีเมืองสำคัญอยู่ตอนใต้ของเมืองนครจำปาศักดิ์  ได้ส่งทหารไปช่วยพระองค์ปราบขบถสำเร็จแล้วประมุขของทั้งสองฝ่ายได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ  จึงกล่าวได้ว่าชนชาวกูยเคยมีการปกครองอย่างอิสระในช่วงพุทธศตวรรษที่  20  เคยส่งทูตมาค้าขายกับราชสำนักอยุธยา  และช่วยกษัตริย์เขมรแห่งนครธมปราบขบถได้สำเร็จ  ต่อมาผู้ปกครองชาวกูย  ถูกเขมรปราบปรามได้  และถูกรวมอยู่ในภายมใต้การปกครองของเขมรเรื่อยมา     ชาวกูย  จากหลักฐานของนายปอล  เลวี  ชาวฝรั่งเศส( อ้างถึงในจิตร  ภูมิศักดิ์ ,2535 )  ได้ขุดค้นร่องรอยอารยธรรมบริเวณ  มูลไพร  ทางภาคเหนือของเขมร  พบว่า  ชาวกูยเป็นกลุ่มข่า  ที่เขมรเรียกว่า  กุย หรือสำแร  เปือร์ลาวใต้)  พวกนี้คงจะต้องจับช้างศึกให้เจ้านายเขมร  นอกจากนั้นก็ยังต้องถูกเกณฑ์ไปทำหน้าที่สกัดหิน  ขุดสระน้ำมหึมาที่มีอยู่มากมายในบริเวณนครธมและที่อื่นๆ   ชาวกูย  ในภาษาไทยเรียกพวกนี้ว่า “ส่วย”  ( จิตร  ภูมิศักดิ์ ,2535  หน้า 47 ) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากทางตอนเหนือของกัมพูชา  และแขวงจำปาศักดิ์  สารวัน  ศรีสะเกษ  สุรินทร์  และอัตตะปือ  พวกนี้ต่อเนื่องเข้ามาทางภาคอีสานของไทย  เขตจังหวัดอุบลราชธานี  ศรีสะเกษ  สุรินทร์  และบุรีรัมย์  ส่วนมากอยู่ใต้น้ำมูล  และจากการศึกษาของเลวี  ( อ้างในไพฑูรย์  มีกุศล ,2535  หน้า 120 )  พบว่าสาเหตุที่ชาวกูบอพยพเข้าสู่ที่ราบสูงโคราชหรือภาคอีสานของไทย  มาจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  เมื่อเจ้าสร้อยสมุทรพุทธากูร  ได้สถาปนาอาณาจักรจำปาศักดิ์ ( แคว้นจำปาศักดิ์ )  ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22  ชาวกูยที่อยู่ในเขตนครจำปาศักดิ์  จึงได้อพยพหนีภัยทางการเมืองข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสาน ทางแก่งสะพือ  และแยกย้ายไปตั้งบ้านเรือนตามสถานที่ต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ            เป็นที่น่าสังเกตว่าชาวไทย – กูย เหล่านี้  ส่วนใหญ่มักจะตั้งหลักแหล่งอยู่ระหว่างแม่น้ำมูลกับเทือกเขาดงรัก  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบริเวณดังกล่าวมีป่าและน้ำอุดมสมบูรณ์  ซึ่งสะดวกในการเลี้ยงช้างก็เป็นได้  เพราะปกติช้างต้องอาศัยอาหารจากป่าและจะต้องมีน้ำให้กินให้เล่นอย่างพอเพียง  จึงจะมีความสมบูรณ์ดีในจังหวัดที่ชาวกูยอาศัยอยู่เหล่านี้  จังหวัดสุรินทร์  และจังหวัดศรีสะเกษ  จะมีอยู่หนาแน่นกว่าจังหวัดอื่นๆ  คือ  มีอยู่เกือบทุกอำเภอ  กล่าวกันว่าในช่วงแรกก่อนที่กุ่มไทย – ลาว และไทย – เขมร จะอพยพเข้ามาอยู่นั้น  จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวกูยเกือบทั้งหมด  แต่ปัจจุบันนี้ชาวกูยเหลืออยู่ประมาณ  10 – 20  เปอร์เซ็นต์ของประชากรในจังหวัดเท่านั้น  และเนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารการคมนาคม  กลุ่มต่างๆจึงได้มีโอกาสปะทะสัมพันธ์กันทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นและได้มีการยอมรับวัฒนธรรมของกลุ่มอื่นเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมขอตนโดยเฉพาะชาวกูย  ซึ่งมีลักษณะเฉพาะในการยอมรับวัฒนธรรมอื่นสูงอยู่แล้วจึงแทบจะกลายเป็น กูย-ลาว  กูย-เขมร  ไปเกือบหมด                  ปัจจุบันชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์อาศัยอยู่มากในเขตอำเภอเมือง  อำเภอรัตนบุรี  อำเภอจอมพระ  อำเภอสังขะ  อำเภอศีขรภูมิ  อำเภอสำโรงทาบ

(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารจดหมายเหตุ ,2544)

ชาวกูยที่ปรากฏในพงศาวดาร

ในพงศาวดารเมืองละแวกได้กล่าวถึงชนชาวกูยว่า “ครั้งหนึ่งกษัตริย์กัมพูชาได้ขอความช่วยเหลือไปยังกษัตริย์กูยให้มาช่วยปราบอริราชศัตรู  กษัตริย์กูยได้ยกกองทัพไปช่วยรบ  จนได้รับชัยชนะ  อาณาจักรกัมพูชาและอาณาจักรกูยจึงมีความสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกันเรื่อยมา”(ไพฑูรย์  มีกุศล   ๒๕๒๗ : ๔๕ ) ในส่วนของราชอาณาจักรไทยได้กล่าวถึงชนชาวกูยซึ่งอยู่ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง  รศ. ๑๙๗๔ ( ปีกุน )  ประกาศห้ามไพร่ฟ้าประชาชนมาให้ยกลูกสาวให้กับคนต่างชาติ  ต่างศาสนาเหล่านี้คือ   ฝรั่ง  อังกฤษ  กัมมัน  วิลันดา  มลายู  แขก  กวย  แกว  และในกฎหมายลงในปีเดียวกัน  มาตรา  ๒๕  ได้กล่าวถึงคนต่างชาติที่มาสู่รบรมโพธิสมภาร  และทำการติดต่อซื้อขายทางบก ทางเรือกับราชอาณาจักรไทย   มี  แขก  พราหมณ์  ญวน  ฝรั่ง  อังกฤษ  จีน  จาม  วิลันดา  ชวา  มลายู  กวย  ขอม  พม่า  มาริญ   ( จิตร  ภูมิศักดิ์  ๒๕๑๙ : ๔๔๗ )  ศรีศักดิ์  วัลลิโภดม  ได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า  ถ้าหากย้อนหลังขึ้นไปถึง  พ.ศ.๒๑๐๓  อันเป็นปีที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง  ทรงย้ายเมืองสำคัญจากหลวงพระบางมาอยู่ที่นครเวียงจันทร์แล้วมีหลักฐานทางพงศาวดารตำนานและเอกสารที่ระบุว่า  บริเวณฝั่งแม่น้ำโขงต่ำจากเมืองเวียงจันทร์ลงมานั้นเคยมีหมู่บ้านเก่าแก่อยู่ก่อนแล้ว  เช่น  เมืองปากหวยหลวง  เมืองศรีโคตรบอง  และอื่นๆยิ่งกว่านั้นบริเวณห่างฝั่งแม่น้ำโขงเข้าในเขตจังหวัดสกลนคร  ก็มีเมืองโบราณเช่นกัน  คือ  เมืองหนองหาน  ตั้งอยู่ริมหนองหานอยู่แล้วเช่นกัน  หลักฐานจากพงศาวดารยังกล่าวอีกว่า  สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช  ต้องทำการปราบพวกข่า  เผ่าต่างๆที่สร้างบ้านสร้างเมืองอยู่แถวฝั่งแม่น้ำโขงใต้นครเวียงจันทร์ลงมา  ซึ่งในที่สุดพระองค์ก็หายสาบสูญไปในคราวยกกองทัพไปปราบพวกข่าในแขวงอัตบือ(ศรีศักดิ์  วัลลิโภดม ๒๔๒๓ : ๓๕ – ๓๖ )

จากหลังฐานอ้างอิงที่กล่าวมานี้พอเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า  ชนชาวกูยนี้ได้มีถิ่นฐานอยู่เป็นปึกแผ่นมีอาณาเขตปกครองตนเองอยู่อย่างมั่นคงมาก่อนจนเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติ  เช่นเดียวกับชนชาติอื่นๆ  หลักฐานที่อ้างถึงได้ชี้ชัดเจนว่าเป็นช่วงศตวรรษที่  ๑๘ – ๒๐  ได้มีอาณาจักรของชนชาวกูยตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้อย่างแน่นอน  และสันนิษฐานว่าจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศลาว  และตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา  โดยอาณาจักรดังกล่าวได้มีความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยาด้วย  เป็นที่น่าเสียดายว่าหลังจากนั้นเป็นต้นมาไม่พบว่ามีที่ใดพูดถึงอาณาจักรของชนเผ่ากูยอีกเลย   ทั้งนี้ก็เข้าใจว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกิดการต่อสู้รบกันในระหว่างชนเผ่าขึ้นมา  เผ่าที่พ่ายแพ้หรืออ่อนแอกว่าก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของอีกฝ่ายหนึ่ง  และชนชาวกูยก็ไม่สามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นต่อสู้แย่งชิงเอาอาณาจักรของตนเองกลับคืนมาได้  อาณาจักรของชนชาวกูยจึงเหลือไว้เพียงตำนานไว้ใช้อนุชนได้ศึกษาเท่านั้น

การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า  ชนชาติกูยเคยเป็นอิสระในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐  เคยส่งทูตมาค้าขายกับราชสำนักอยุธยาและเคยช่วยกษัตริย์เขมรแห่งนครธมปราบขบถ  ต่อมาเขมรได้ใช้อำนาจทางการทหารปราบปรามชาวกูย  และผนวกเอาอาณาจักรกูยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเขมรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ( สมทรง  บุรุษพัฒน์ )    ชาวกุยได้อพยพมาจากประเทศกัมพูชาเข้าสู่เมืองอัตบือแสนปางแคว้นจำปาศักดิ์  และสาละวันซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  อันเนื่องมาจากต้องประสบภัยทางธรรมชาติรวมทั้งภัยทางการเมือง  ชาวกูยจึงอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสาน  โดยเฉพาะทางด้านแก่งสะพือ  ซึ่งชาวกูยเรียกว่า  แก่งกะซันพืด ( แก่งงูใหญ่ )  และในเขตอำเภอโขงเจียม  ชาวกูยเรียกว่าโพงเจียง    ( ฝูงช้าง )  หลังจากนั้นลูกหลานชาวกูยก็แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านนากอนจอ  ซึ่งเป็นภาษากูย  แปลว่า  บ้านนาลูกหมา  ปัจจุบีนคืออำเภอวารินชำราบ  บ้านเจียงอี  ซึ่งเป็นภาษากูยแปลว่า  บ้านช้างป่วย  ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน  เป็นอันว่าในชาติกลุ่มพันธุ์กูย  ลาว  เขมร  ชาวกูยเป็นชนชาติดั้งเดิมตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานใต้เป็นกลุ่มแรก ( ไพฑูรย์  มีกุศล )   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ )  ชาวกูยได้มีการอพยพครั้งใหญ่เข้ามาจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษอีก  และในยุคปลายของกรุงศรีอยุธยาไปจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ( พ.ศ. ๒๒๔๕ – ๒๓๒๖ )  ชาวกูยแต่ละกลุ่มที่อพยพมามีหัวหน้าของตนเอง  สาเหตุอื่นๆของการอพยพนอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้ว  อีกสาเหตุหนึ่งก็เพื่อหาบริเวณการล้าช้างและฝึกช้าง  การอพยพได้หยุดลงในสมัยรัชกาลที่  ๔  ในเวลาต่อมาได้มีการโยกย้ายไปอยู่จังหวัดใกล้เคียง  ได้แก่  จังหวัดบุรีรัมย์  อุบลราชธานี  นครราชสีมา  และมหาสารคาม  ชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์  ศรีสะเกษ  เรียกหมู่บ้านที่ชาวกูยโยกย้ายไปว่าเป็น  “หมู่บ้านใหม่”  การใช้ภาษากลุ่มเดิมและกลุ่มที่โยกย้ายไปยังคงมีความเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี เพราะยังติดต่อกันอยู่ (ปรีชา  ๑๙๘๘ )

กูยกับราชอาณาจักรสยาม  สมัยกรุงศรีอยุธยา

ประมาณปี  พ.ศ.๒๒๐๐  ( ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช )  ชนชาวกูยได้อพยพมาจากเมืองอัตบือ  แสนปางแห่งแคว้นจำปาศักดิ์  มาตั้งดินแดนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้  ในสมัยก่อนดินแดนบริเวณนี้เป็นที่ปลอดจากการครอบครองของราชอาณาจักรใดๆ  ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรสยาม  อาณาจักรลาว  หรืออาณาจักรกัมพูชา  ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าชนกลุ่มนี้ได้ตั้งหลักแหล่งเป็นอิสระอู่อย่างมั่นคงโดยไม่ขึ้นตรงต่อเมืองใดๆ   รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ( พ.ศ. ๒๓๐๑ – ๒๓๑๐ )  และในปี  ๒๓๐๒  สมัยพระที่นั่งสุริยามรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา  พระยาช้างเผือกแตกโรงหนีมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตเมืองพิมายและเลยเข้ามาถึงถิ่นที่อยู่ของชาวกูย  เจ้าเมืองพิมายจึงพาคณะติดตามช้างเผือกมาพบกับหัวหน้ากลุ่มชาวกูยที่บ้านกุดหวาย  เชียงสี  บ้านคูปะทาย  เชียงปุม  บ้านอัจจะปึง  เชียงฆะ   และบ้านลำดวนเชียงขัน  หัวหน้ากลุ่มชาวกูยทั้ง ๔ คนเป็นญาติพี่น้องกัน  แม้จะอยู่ห่างไกลกันแต่ก็ไปมาหาสู่กันเสมอ ( วัฒนธรรมอันนี้  ชาวกูยถือปฏิบัติกันอย่างเหนียวแน่นมาก  สมัยผู้รวบรวมเป็นเด็กยังเคยเห็นญาติผู้ใหญ่ไปมาหาสู่กันเป็นประจำทุกปี  หรือเมื่อยามมีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์หรือหน้าผลไม้  พวกญาติก็จะนำสิ่งของเหล่านี้ไปเยี่ยมเยียนเป็นของฝาก  และถามข่าวทุกข์สุขของกันและกัน  เรารู้สึกดีเมื่อมีญาติจากที่อื่นมาเยี่ยมมาเยือน  และได้มีโอกาสเลี้ยงข้าวปลาอาหาร  แก่บรรดาญาติที่มาเยี่ยม  แต่ปัจจุบันนี้ประเพณีวัฒนธรรมนี้ได้เลือนหายลงเหลือน้อยมาก  ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ  การเป็นอยู่ก็ยากกว่าแต่ก่อนนี้  ต่างฝ่ายก็ต่างมีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ  เพื่อดำเนินชีวิตของตนเอง  ถ้าหากเรามองในแง่นี้ก็จะเห็นได้ว่า  ปัญหาเศรษฐกิจ  ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างเสื่อมหายไปชนชาวกูยที่เกิดมา ๑๕ ปีให้หลังคงไม่ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามและอบอุ่นแบบนี้เลย )  ชนชาวกูยนอกจากจะมีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแล้ว  ชาวกูยยังมีความชำนาญในการเดินป่า  ล่าสัตว์  เช่นการคล้องช้างป่า  เมื่อหัวหน้าคณะกลุ่มชาวกูยได้ช่วยคณะผู้ติดตามช้างจับพระยาช้างเผือกส่งคืนถวายสมเด็จพระสุริยามรินทร์    จึงมีความดีความชอบและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวง”  คือให้  เชียงสี(บ้านกุดหวาย) เป็น  “หลวงศรีนครเตา”  เชียงปุม (บ้านคูปะทาย )  เป็น  “หลวงสุริทรภักดี”  เชียงฆะ ( บ้านอัจจะปึง )  เป็น  “หลวงเพชร”  เชียงขัน ( บ้านลำดวน ) เป็น  “หลวงสุวรรณ”  ผู้นำชาวกูยได้ทำราชการขึ้นอยู้กับเมืองพิมาย  มีบทบาทสำคัญ  ได้แก่  นำช่าง , แก่นสน , ยางสน , ปีกนก , นอรมาด , งาช้าง , ขี้ผิ้ง  สิ่งของดังกล่าวเรียกว่า “ส่วย”  โดยำไปส่ง  ณ  กรุงศรีอยุธยา  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนจาก  “หลวง”  เป็น  “พระ”  พร้อมกับแรดให้ยกบ้านเป็นเมือง  คือ

-บ้านคูปะทายเป็นเมืองสุรินทร์  ให้หลวงสุรินทรภักดี( เชียงปุม ) เป็น  พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง

-บ้านกุดหวายเป็นเมืองรัตนบุรี  ให้หลวงศรีนครเตา ( เชียงสี ) เป็น  พระศรีนครเตา

-บ้านอัจจะปึงเป็นเมืองสังขะ ( หรือสังฆะ ) ให้หลวงเพชร ( เชียงฆะ ) เป็นพระสังฆะบุรีศรีนครวัด

-บ้านลำดวนป็นเมืองขุขันธ์ให้หลวงสุวรรณ ( เชียงขัน ) เป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน

เมืองทั้งสี่นี้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาเมืองพิมาย  นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชนชาวกูยก็เป็นที่รู้จักกันดีในราชำนัก  แต่ละเมืองได้มีการปกครองกันเองสืบมาตามลำดับ  จนกระทั่งมีการปรับปรุงระบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเจ้าเมืองกูยได้มีโอกาสสนอง  พระเดชพระคุรับใช้ชาติในราชการสงครามเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองทัพหลวงตลอดมา

ชาวกูยกับราชอาณาจักรสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยกรุรัตนโกสินทร์  สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ( พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒ )  ก่อนนี้เป็นสมัยกรุงธนบุรี  คือ  พ.ศ.  ๒๓๑๙  เมืองจำปาศักดิ์  เกิดวิวาทกับพระวอ  ซึ่งอยู่ที่ดอยมดแดง ( ใน จ.อุบลราชธานี  ปัจจุบัน )  เจ้ากรุงศรีรัตนาคนหุตเวียงจันทร์  โปรดให้พระยาสุโพ  คุมกองทัพมาตีพระวอสู้ไม่ได้  และได้จับพระวอฆ่าเสีย  ฝ่ายท้าวก่ำบุตรพระวอ  กับฝ่ายท้าวหน้า  ท้าวคำผง  และท้าวทิดพรหมหนีออกมาได้  จึงให้คนถือหนังสือไปกรึงธนบุรี  ได้โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก  เป็นแม่ทัพไปสมทบกับกำลังที่เกณฑ์จากเมืองสุรินทร์  ขุขันธ์  และเมืองสังฆะ  ซึ่งเป็นผู้นำชาวกูยตามตีกองทัพของพระยาสุโพ  กองทัพไทยตีเมืองต่างๆในแถบลุ่มแม่น้ำโขงได้ทั้งหมด  อาณาจักรเวียงจันทร์และนครจำปาศักดิ์  จึงตกเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่นั้นมา  ปีเดียวกันนี้ได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าเมืองสุรินทร์  เจ้าเมืองขุขันธ์  และเมืองสังฆะเป็นตำแหน่ง “พระยา”  เจ้าเมืองสุรินทร์ชื่อว่า  “พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง”  เจ้าเมืองขุขันธ์ชื่อว่า  “พราไกรภักดีศรีนครลำดวน”  เจ้าเมืองสังฆะชื่อว่า  “พระยาสังฆะบุรีศรีนครวัด”  ทางเมืองเขมรนั้นทางกองทัพไทยได้ยกไปตีเมืองเสียมราช  กำปงสวาย  เมืองบรรทายเพชร  เมืองบรรทายมาศ  เมืองรูงตำแร็ย  เมืองเหล่านี้ยอมแพ้ต่อกองทัพไทย  จากการชนะสงครามดังกล่าว  จึงเป็นเหตุให้มีกลุ่มชนชาวลาวและเขมรเข้มาอยู่อาศัย  ในเขตชุมชนกูย   และมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงกว่าพวกกูย  จึงถูกวัฒนธรรมเขมรกลืนไป  เช่น  เมืองสุรินทร์  เมืองสังขะ  และเมืองขุขันธ์  ส่วนที่เมืองกุดหวาย ( รัตนบุรี )  อุบลราชธานี  และศรีสะเกษ  ได้มีการปรับเปลี่ยนไปทางวัฒนธรรมลาวไปแทบทั้งสิ้น   ในช่วงสมัยรัชกาลที่  ๑  ถึงรัชกาลที่  ๓  ให้กลุ่มชาวกูยเป็นข้าไพร่แผ่นดินสยาม  ได้ถูกเกณฑ์แรงงานและจัดส่งส่วย  ให้แก่ทางราชการอยู่โดยตลอด  ในสมัยต้นแห่กรุงรัตนโกสินทร์  การเกณฑ์แรงงานกูยในเขตอีสานใต้ ( เขมรป่าดง )  เริ่มประสบความยุ่งยากเพราะหนุ่มฉกรรจ์ชาวกูย  มักหลบหนีการเกณฑ์  บางครั้งถึงกับซุ่มโจมตีทำร้ายเจ้าพนักงานแล้วหนีเข้าป่า  และมีชาวกูยได้ก่อการกบฏขึ้น  ดังเช่นกบฏเชียงแก้ว  พ.ศ.  ๒๓๓๔  ได้เกิดเหตุในแขวงเขตจำปาศักดิ์  และในเขตหัวเมืองต่างๆในอุบลราชธานี  กบฏสาเกยดโง้ง  พ.ศ.  ๒๓๖๓  เป็นกบฏของข่า ( กูย )  ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลาวใต้  และบริเวณอีสานใต้  ทางกรุงเทพฯ  ได้ให้เจ้าอนุวงศ์  ผู้ครองเวียงจันทร์  ยกทัพไปปราบ  และได้จับสาเกียดโง้งและชาวข่า ( กูย ) พร้อมทั้งครอบครัวจำนวนมากส่งมากรุงเทพฯ  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โปรดเกล้าให้จำสาเกียดโง้งไว้ตลอดชีวิต   ส่วนครอบครัวกูยโปรดให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง  ตั้งบ้านเรือนที่บางบอนธนบุรี  กูยเคยมีจำนวนถึง  ๓๐๐,๐๐๐  คน  ถูกลดจำนวนลงเหลือเพียงไม่กี่พันคน  เมื่อรัฐไทยได้เข้าไปทำการจัดเก็บภาษีในบริเวณอีสานใต้  โดยมีการพัฒนาจัดเก็บภาษีเป็นควาย  ซึ่งนอกเหนือจากภาษีของคนป่า  เพื่อนำส่งไปยังกรุงเทพฯ  เช่นปี  พ.ศ.  ๒๔๐๒  ที่เมืองสุรินทร์  ได้จัดส่งควาย  ๖๑  ตัว  เมืองรัตนบุรี  ๑๖๓  ตัว  และกองพระยาภักดีชุมพลเมืองสุรินทร์  ๓๒  ตัว   การจัดเก็บได้ทวีเพิ่มความรนแรงขึ้น  เมื่อชาวกูยไม่มีสิ่งของเป็นส่วยให้กับทางราชการ  และพอถึงปลายรัชกาลที่  ๔  ก็เข้ารอบวิกฤตอีกคือ  กูยไม่มีส่วยสิ่งของส่ง  จึงเอาตัวคนกูยส่งส่วยแทน  ล่วงมาถึงรัชกาลที่  ๕  ได้เกิดกบฏผีบุญขึ้นใน พ.ศ.  ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕  มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ยกบฏกับฝ่ายรัฐบาลสะพือ ( ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตระกาลพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี )  หัวหน้าฝ่ายกบฏคือ  องค์ลูกน้องขององค์แก้ว  หัวหน้าพวกข่า ( กูย )   ในลาว  องค์มั่น  มีชาวบ้านเข้าด้วยหลายพันคน  เมื่อปะทะกับกองกำลังประมาณ  ๑๐๐  คน  ของกรมขุนสรรพสิทธิประสงค์  ข้าหลวงสำเร็จราชการอีสานในวันที่  ๔  เมษายน  ค.ศ.  ๑๙๐๒  ( พ.ศ. ๒๔๔๕ )  ที่บ้านสะพือ    องค์มั่นก็สั่งให้พรรคพวกนั่งลง  ภาวนาเอาบารมีบุญกุศลเป็นที่พึ่ง  จะแคล้วคลาดจากกระสุนปืนใหญ่  ปรากฏว่าฝ่ายผู้มีบุญถูกกระสุนปืนใหญ่ตายนับร้อย  ที่เหลือถูกจับหรือแตกหนีไป  เมื่อพิจารณาสาเหตุการเกิดกบฏ  ถ้ามองการปกครองรัฐบาลไทย  ซึ่งนำเอาอย่างประเทศอาณานิคม  คือ  อังกฤษ  ด้านวัฒนธรรมไม่เอาใจใส่  หรือไม่สนใจกับรากฐานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ตนเข้าไปปกครองขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะกดดันวัฒนธรรมเดิมให้อ่อนด้อยลงพร้อมกับการนำเอาวัฒนธรรมใหม่เข้าไปแทน     ปัจจัยดังกล่าวน่าจะมีผลกระทบต่อชาวกูยเพราะสอดคล้องกับผลการสำรวจของ  เอเจียน  แอมอนิเย  ที่กล่าวว่า  ชนเผ่ากูยเป็นเผ่าที่ยากจนที่สุด  ไม่มีไร่นาจะเพาะปลูก  เขามีเพียงไร่ผืนเล็กๆกลางป่าเพื่อปลูกข้าว  ต่อมาฝรั่งได้ขยายอำนาจสู่บริเวณอินโดจีน  รัฐไทยมีนโยบายเพื่อความมั่นคง  โดนเฉพาะชายแดนในอีสานตอนใต้ที่มีชนชาติกูยได้ถูกผนวกเข้ากับรัฐไทย  ได้เปลี่ยนสัญชาติกูยเป็นไทย  การสำรวจสำมะโนครัว  หรือ  หากมีราษฎรติดต่อราชการที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ทางราชการให้ปฏิบัติโดดยกรอกในช่องสัญชาติว่าไทย   บังคับห้ามมิให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า  ชาติลาว  ชาติเขมร  ชาติส่วย(กูย)  ผู้ไทย  ดังที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อนเด็ดขาด     อาจกล่าวได้ว่าประวัติชนชาติกูย  มีบทบาทสำคัญยิ่งในบริเวณอีสานตอนใต้  ลาวใต้และกัมพูชาตอนบน  (ตะวันออกเฉียงเหนือทะเลสาบเขมร)  มีความเป็นมาและได้มีการพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ผสมกลมกลืนกับชาวกัมพูชา  ลาวและไทยตลอดมาโดยเฉพาะกับชนชาติไทยปัจจุบัน  ชาวกูยมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์  ศรีสะเกษ  บางอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์  บ้านสะเดาหวาน  อำเภอพยัคฆ์ภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม  และบางอำเภอในเขตจังหวัดอุบลราชธานี

ถิ่นฐานของชาวกูยในประเทศไทย

เนื่องจากชาวกูยตั้งถิ่นฐานปะปนกันอยู่กับชาวเขมรสูงและชาวลาว  จึงมีการติต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมกันตามวิสัย  และทำให้ชาวกูยกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเขมรสูงและวัฒนธรรมลาว  ดังจะเห็นได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์  เมื่อครั้งที่ตั้งเมืองสุรินทร์ใหม่ๆนั้นมีคนกูยทั้งเมือง  ชาวเขมรสูงมีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย  แต่นานเข้าวัฒนธรรมของเขมรสูงก็ค่อยๆเข้ามามีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมของชาวกูย      ชาวกูยจึงถูกกลืนเข้าไปเป็นคนเขมรเกทอบหมด ( ประเสริฐ  ศรีวิเศษ  ๒๕๒๑ )     เมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๕๐  จังหวัดศรีสะเกษยังเป็นเมืองที่มีชาวกูยอยู่กันทั้งเมืองมีพวกลาวเวียง  ( สาขาเวียงจันทร์ )  ปะปนอยู่บ้างบางหมู่บ้าน  แต่วัฒนธรรมของลาวได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือชาวกูย  จึงทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม  ชาวกูยที่นี่พูดภาษาลาวด้วยสำเนียงส่วยโดยสามารถใช้สะระเอือได้  ในขณะที่ภาษาลาวเวียงเดิมมีแต่สระเอีย  ร่องรอยที่แสดงว่าศรีสะเกษเดิมเป็นเมืองที่ชาวกูยอาศัยอยู่กันทั้งเมืองก็คือตัวเลขสำมะโนครัวสมัยนั้นและการเรียกขานชาวศรีสะเกษว่า  “ส่วยศรีสะเกษ”  อยู่จนทุกวันนี้  ( จิตร  ภูมิศักดิ์  ๒๕๒๔ )     ปัจจุบันชาวกูยอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างแม่น้ำมูลกับเทือกเขาพนมดงรัก  ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์  สุรินทร์  ศรีสะเกษ  จนถึงอุบลราชธานี  เชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็นเส้นทางอพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศลาวสู่ประเทศไทยและยังเชื่อกันว่า   ชาวกูยที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นชาวกูยที่ตกค้างอยู่ตั้งแต่ครั้งอพยพมาจากลาว ( ประเสริฐ  ศรีวิเศษ  ๒๕๒๑ )     ในจังหวัดบุรีรัมย์   ชาวกูยส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์  จังหวัดศรีสะเกษและมีการอพยพโยกย้ายข้ามอำเภอ  หมู่บ้านชาวกูยแต่ละหมู่บ้านมาจกาที่เดียวกันทั้งหมู่บ้านหรือมาจากหลาที่มาอาศัยด้วยกัน     นอกจากนี้ยังพบผู้พูดภาษากูยในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  จังหวัดมหาสารคาม     และที่บ้านหนองบัว  ตำบลตลิ่งชัน   อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี   ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พูดภาษาเขมรอาศัยอยู่เช่นกัน  ชาวกูยที่นี่เรียกตัวเองว่า  “กวย”  เรียกภาษาที่ตัวเองพูดว่า  “ภาษากวย”

 

1 ตอบกลับที่ ประวัติความเป็นมาของชาวกูย

  1. schoolonly พูดว่า:

    ชาวกูยมีจริงหรอ

ใส่ความเห็น