การแซวผ้า หมายถึงการเย็บผ้าให้ติดกันด้วยมือซึ่งสมัยโบราณยังไม่มีจักรเย็บผ้าและเครื่องมือในการตัดเย็บเสื้อผ้าชาวกูยสมัยโบราณจะเอามีดตัดผ้าเป็นชิ้นเพื่อนำมาทำเป็นเสื้อสวมใส่เย็บผ้าให้ติดกันด้วยมือ คิดค้นวิธีเย็บแบบต่างๆให้เกิดลวดลายสวยงามเรียกว่าการแซวผ้าโดยจะแซวเป็นลวดลายต่างๆคิดชื่อลายจากวิถีการดำเนินชีวิตของชาวกูย เช่น ลายขามดแดง ลายตัวตะขาบ ลายดอกพิกุล ลายดาวกระจาย เป็นต้น โดยในการแซวจะใช้ด้ายไหมที่คนในชุมชนเลี้ยงเองเริ่มจากการเลี้ยงไหม สาวไหม แล้วนำมาย้อมสีต่าง ๆ จากธรรมชาติ แล้วนำด้ายไหมมาควั่นให้เป็นเกลียวเพื่อจะได้ด้ายแซวที่มีลวดลาย นำด้ายที่ควั่นแล้วมาแซวตกแต่งเสื้อผ้าเช่น ตกแต่งรอบคอเสื้อรอยผ่าข้าง ชายเสื้อ กลางตัวเสื้อ ทำชายผ้าสไบ เป็นต้น ทำให้เสื้อแซวของชาวกูยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงามเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษชาวกูย อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไป
แหล่งที่มา ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม
ที่บ้านผมก็แซวผ้า เหมือนกัน ครับ
เป็นสิ่งที่น่า อนุรักษ์เอาไว้ นะครับ